ข่าวเด่น » ชาวบ้านเหยื่อโรงงานอบลำไยระเบิด ปี 42 ร้องรัฐบาลและกงสุลไต้หวัน ล่าตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ

ชาวบ้านเหยื่อโรงงานอบลำไยระเบิด ปี 42 ร้องรัฐบาลและกงสุลไต้หวัน ล่าตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ

21 ตุลาคม 2019
1442   0

Social Share

ชาวบ้านเหยื่อโรงงานอบลำไยระเบิด ปี 42 ร้องรัฐบาลและกงสุลไต้หวัน ล่าตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ

ช่วงบ่ายนี้(วันที่ 21 ตค.62) ที่ห้องประชุมใหญ่วิทยาลัยเทคโนโลยีพิงค์พระนคร อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ กลุ่มตัวแทนผู้ประสบภัยจากโรงงานอบลำใยระเบิด เมื่อปี 2542 จำนวนกว่า 100 คนมาร่วมประชุมรับฟัง และเรียกร้องเพื่อเร่งรัดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเนื่องจากชาวบ้านยังไม่ได้รับการชดเชยใดๆ

นายดลทัต แก้วปะญญา ตัวแทนคณะกรรมการผู้ประสบภัยจากลุ่มผู้ประสพภัยจากโรงงานอบลำใยระเบิด เปิดเผยว่าวันนี้ได้รวมตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายทั้งหมด ทั้งญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต และกลุ่มที่บ้านเรือนเสียหาย และอื่นๆ โดยตอนนี้แม้เวลาจะผ่านมา 20 ปี กับอีก 1 เดือน ทางผู้ประสพภัยก็จะเดินหน้าเข้าร้องเรียนจากรัฐบาลไทย และรัฐบาลไตหวัน เพราะคดีนี้นายลีหงเตียน เจ้าของบริษัทตัวจริงหลบหนีในคดีอาญา ยังไม่รับโทษใดๆ ส่วนคดีแพ่งก็รับปากจะชดใช้ค่าเสียหาย แต่เวลาผ่านมา 20 ปีชาวบ้านยังไม่ได้รับเงินใดๆ

โดยคดีเกิดขึ้นเมื่อ 19 ก.ย.42 ที่โรงงานลำไยอบแห้งของบริษัทหงษ์ไทยเกษตรพัฒนา จำกัด ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ได้เกิดการระเบิดเนื่องจากขนย้ายสารโพแทสเซียมคลอเรตเข้ามาเก็บไว้ในโรงงานทำให้เกิดการอัดและระเบิดขึ้น หลังเหตุระเบิดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บ 71 ราย และบ้านเรือนเสียหายกว่า 600 หลังคาเรือน ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่า 200 ล้านบาท ต่อมาได้มีการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา

โดยคดีอาญาศาลฏีกา ได้ตัดสินจำเลยที่ 1 คือ บริษัท หงษ์ไทยเกษตรพัฒนา จำกัด และจำเลยที่ 2 ผู้จัดการ จำเลยที่ 3 ประธานกรรมการบริหารบริษัท ซึ่งเป็นคนไทย และจำเลยที่ 4 นายลีหงเตียน เจ้าของตัวจริงชาวไต้หวันและจำเลยอื่นๆ โดยมีคำตัดสินออกมาเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2559 โดยจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาปรับจำนวน 60,000 บาท และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 คนละ 10 ปี

ซึ่งจำเลยที่ 4 คือนายลีหงเตียน ไม่ยอมมาฟังคำตัดสินของศาลและหลบหนีกลับประเทศ คดีแพ่ง ชาวบ้านและกลุ่มผู้เสียหายได้เรียกร้องค่าเสียหายกว่า 500 ล้านบาท โดยทางบริษัทและนางลีหงเตียน ส่งตัวแทนมาเจรจาและขอประนีประนอมยอมความ โดยสรุปจะชดใช้เงินจำนวน 500 ล้านบาทภายใน 6 เดือนนับแต่เดือนธันวาคม 2560 ซึ่งจนทุกวันนี้กลุ่มผู้เสียหายและชาบ้านยังไม่ได้รับเงินแม้แต่บาทเดียวจากเจ้าของโรงงาน