ข่าวสังคม » วิศวกรรมคอมพิวเตอร์มทร.ล้านนา เจ๋ง ประสบความสำเร็จสร้าง 7 ชุดการศึกษา อุปกรณ์สี่อการสอน พร้อมส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์มทร.ล้านนา เจ๋ง ประสบความสำเร็จสร้าง 7 ชุดการศึกษา อุปกรณ์สี่อการสอน พร้อมส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

4 มิถุนายน 2024
491   0

Social Share

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์มทร.ล้านนา เจ๋ง ประสบความสำเร็จสร้าง 7 ชุดการศึกษา อุปกรณ์สี่อการสอน พร้อมส่งเสริมพัฒนาการแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

วันที่ 1 มิ.ย. 67 ผศ.ดร.ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิชาการ กิจกรรมนักศึกษา ด้านวิจัยและบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานส่งมอบอุปกรณ์สื่อการสอนของวิชาโครงงาน 7 ชุด แก่โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ เชียงใหม่ โดยมีนางมธุฤดี ชัยชนะ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นตัวแทนรับมอบ

อาจารย์ยุพดี หัตถสิน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า “อุปกรณ์สื่อการสอนทั้ง 7 ชุด เป็นผลงานของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาโครงงาน ได้เล็งเห็นว่าสื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นยังขาดแคลนและมีราคาสูง การจัดทำโครงงานในครั้งนี้ จึงเป็นการให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการปฏิบัติและบูรณาการเรียนสอน รวมถึงเป็นการฝึกให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ มีความเข้าอกเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น โดยเฉพาะผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งในปีนี้ได้ส่งมอบอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน 7 ชุด ได้แก่ 1. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนระบบสุริยะจักรวาล ระดับมัธยมต้น สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น โดยนายสุรเชษฐ์ เขียวคำสุข เป็นการจำลองระบบสุริยะจักรวาน และมีปุ่มกดเสียงในการอธิบายถึงลักษณะของระบบสุริยะจักรวานให้กับผู้พิการทางสายตาได้เข้าใจว่าที่ได้สัมผัสนั้นเป็นเรียกว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ชุดที่ 2. สื่อการเรียนรู้เรื่องสัตว์และสภาพแวดล้อม 3 มิติ เวอร์ชั่น ที่ 1 สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องการมองเห็นระดับประถมต้น โดยนายศาสตราวิท พิชัยหนัก และนายหัสดิน นำทรัพย์อนันต์ และชุดที่ 3. พัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องสัตว์และสภาพแวดล้อม 3 มิติ เวอร์ชั่นที่ 2 สำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็นระดับประถมต้น โดย นายบุญทีวี หน่อแก้ว และนายปรินทร ปิงยศ เป็นการนำตุ๊กตาสัตว์ออกมาจัดวางตามจุดต่างๆ พร้อมมีอักษรเบล และมีปุ่มกดอธิบายลักษณะของสัตว์ นิสัย พฤติกรรมของสัตว์ ถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้นๆ

ชุดที่ 4. พัฒนาสื่อการเรียนสอนท้องฟ้าจำลอง สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็นระดับประถมต้น โดยนายพงษ์ศักดิ์ โชติ เป็นลักษณะของตัวถาดมีลักษณะครึ่งวงกลม ภายจะมีเส้นที่ถูกกำหนดไว้เป็นรูปของดาวราศีต่างๆ พร้อมด้วยคำอธิบายที่เป็นอักษรเบลติดไว้ด้านข้าง ซึ่งทางกลุ่มผู้พิการทางสายตา ก็จะได้สัมผัสลักษณะของดาวราศีว่า บนท้องฟ้าจำลองที่พูดถึงราศีต่างๆ จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร จะได้เข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ชุดที่ 5. ลูกโลกที่มีภูมิศาสตร์แบบ 3 มิติ เวอร์ชั่น 3 โดย นายอาภากร เสงี่ยมโคกกรวด และ นายนที อักษร เป็นลักษณะของลูกโลกที่ได้มีการทำสภาพภูมิศาสตร์ให้มีลักษณะนูนขึ้น เมื่อสัมผัสก็จะได้ทราบว่าจุดตรงนั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร ทั้งต้นไม้ น้ำ รวมถึงอื่นๆ นอกจากนี้ก็จะมีปุ่มกดเพื่ออธิบายเป็นเสียงออกมา เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ยิ่งขึ้น และง่ายต่อการศึกษาสภาพแวดล้อมของโลกด้วย

ชุดที่ 6. สื่อการเรียนรู้แผนที่ภูมิประเทศไทยแบบ 3 มิติ สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นเวอร์ชั่น 2 โดยนายปรัชญา เมืองมาน้อย และนายสุทธิพงษ์ ใจบาล ชุดการศึกษานี้สำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้พิการทางสายตาได้เข้าใจว่าลักษณะภูมิประเทศในประเทศไทยเป็นอย่างไร มีการแบ่งลักษณะภูมิประเทศไว้แบบไหน และมีปุ่มกดเพื่ออธิบายเสียงไว้ให้อธิบายอย่างชัดเจน ซึ่งทางกลุ่มผู้พิการทางสายตาก็จะได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ของประเทศได้มากขึ้น และรู้ว่าแต่ละจังหวัดของประเทศนั้นอยู่ส่วนไหน ลักษณะเป็นอย่างไรด้วย และชุดที่ 7. พัฒนาสื่อการสอนอักษรเบรลล์ภาษาไทยขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น ระดับประถมต้น โดยนางสาวกุลธิดา ศรีสวัสดิ์ ชุดการศึกษานี้ถือว่ามีประโยชน์สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ยังเป็นเด็กเล็กอย่างมาก เพื่อให้เข้าใจว่าอักษรแต่ละตัวคืออะไร จะทำการอ่านหนังสือและการสื่อสารเป็นอักษรเบลได้อย่างไร เมื่อมีการสัมผัสก็จะมีเสียงบอกว่าอักษรเบลที่กำลังสัมผัสนั้น เป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ แล้วเป็นลักษณะแบบไหน หากจะเขียนอักษรเบลจะต้องเขียนอย่างไร ทั้งการสัมผัสและเสียงที่ออกมาก็จะทำให้ผู้ที่เริ่มศึกษาอักษรเบลได้เข้าใจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น