ที่ จ.เชียงใหม่ นายภูมิ เกลียวสิริกุล ผู้อานวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ภาคเหนือมีผลไม้หลากหลายชนิด และเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นช่วงผลผลิตลำไยจะออกสู่ท้องตลาด ทาง ธกส.ได้ร่วมกับส่วนราชการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และภาคเอกชน จึงได้จัดการประชุมในวันนี้เพื่อเตรียมรองรับผลผลิตลำไยที่จะออกสู่ท้องตลาด และจะเยอะกว่าปีที่ผ่านมา
เรื่องราคามีผลกระทบแน่นอนจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะเรื่องของการส่งออก การประชุมในปีนี้จึงเป็นการประชุมเพื่อหาทิศทางว่าลำไยปีนี้จะเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนของธนาคารก็ได้สนับสนุนกลุ่มทุน โดยมองว่าเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เกษตรกรระบายผลผลิตให้พ่อค้าที่จะออกมาพร้อมกันในเดือนสิงหาคม มีควาามจำเป็นที่ทางผู้ประกอบการจะรวบรวมลำไยต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ถ้าทาง ธกส.สนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการแล้วรวบรวมผลผลิตลำไยไว้ในมือ มีต้นทุนเพียงพอที่จะรับซื้อ แล้วส่งต่อให้ผู้ประกอบการที่จะทำลำไยอบแห้งที่ส่งออก-ขายปลีกที่ห้างสรรพสินค้า ก็น่าจะช่วยเหลือได้
นายภูมิกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ซึ่งดูแล 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) ขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมทุกโครงการแล้วกว่า 100 ราย วงเงินที่ขอกู้กว่า 400 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินกู้เพื่อไปดำเนินการรับซื้อลำไยได้เร็วที่สุดภายในไม่เกินเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งผลผลิตลำไยปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6 – 7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้นราคาก็จะตกลง แต่ที่จริงแล้ว ทาง ธกส. ได้เน้นเรื่องของการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพดี เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด แต่ปัญหาคือ พี่น้องเกษตรกรยังทำไปไม่ถึงขั้นนั้น อาจต้องให้ความรู้ ความสามารถมากขึ้น ทาง ธกส.มีการส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรม โดยร่วมกับ ม.แม่โจ้ โดยให้ทาง ม.แม่โจ้ คิดค้นนวัตกรรม เอาเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าไปศึกษา เรียนรู้ และมีภารกิจในการค้นหาเกษตรกรรุ่นใหม่ เข้ามาสู่ภาคการเกษตรมากขึ้น ใช้องค์ความรู้ของเขาในการปรับเปลี่ยนภาคเกษตรกรไปสู่การเกษตรแบบใหม่ เพราะในระยะยาวสามารถก้าวตามทันสิ่งเหล่านี้ได้
สำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อต้องเป็นเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีประสบการณ์ในการรวบรวมผลไม้ กำหนดวงเงินกู้กรณีเป็นเกษตรกรสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กรณีกลุ่มเกษตรกร สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท กรณีสหกรณ์การเกษตร สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท และกรณีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สูงสุดไม่เกิน 20 เท่าของเงินทุนตนเองและไม่เกิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) โครงการดังกล่าวกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจะชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3.00 ต่อปี ในช่วง 6 เดือนแรกนับจากวันที่จัดทาสัญญาเงินกู้ โดยกาหนดชาระคืนเงินกู้ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่จัดทำสัญญาเงินกู้ และไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และทางธนาคารยังสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อลำไยจากเกษตรกร เพื่อนำไปรวบรวมหรือแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยพร้อมสนับสนุนสินเชื่อ SME เกษตร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี