ข่าวสังคม » กฟผ. จับมือ 4 สถาบันการศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่

กฟผ. จับมือ 4 สถาบันการศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่

24 มิถุนายน 2018
927   0

Social Share

กฟผ. จับมือ 4 สถาบันการศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่

นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง ความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ สี่สถาบันการศึกษา

นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. เหมืองแม่เมาะ มีภารกิจในการผลิตถ่านหินลิกไนต์ปีละ 16 ล้านตัน และหินปูนปีละ 1.4 ล้านตัน ส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,400 เมกะวัตต์ ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานทำเหมืองแร่ถ่านหินแบบเหมืองเปิดขนาดใหญ่และเหมืองหินปูน มีระบบและกระบวนการตามหลักวิชาการ คำนึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองทั้งในระหว่างทำเหมืองและภายหลังการปิดเหมืองในอนาคต ตลอดจนการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรอบ ทำให้เหมือง

แม่เมาะมีศักยภาพเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา ซึ่งความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และนำไปสู่การพัฒนาการทำเหมืองแร่ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน” ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว กฟผ. และสถาบันการศึกษา ร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Mining Camp เพื่อพัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการทำเหมืองแร่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เหมืองแม่เมาะ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา อาทิเช่น งานวางแผนและออกแบบหน้าเหมือง งานปฏิบัติการขุดขน งานเจาะระเบิด

งานระบบสายพานลำเลียงวัสดุ งานบำรุงรักษาเครื่องจักรกล งานระบายน้ำ และงานวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดของผนังบ่อเหมือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังร่วมกันดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเหมืองแม่เมาะในปัจจุบันและอนาคต เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองในระดับลึก ได้แก่ งานวิเคราะห์เสถียรภาพของผนังบ่อเหมือง งานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฯลฯ

เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำเหมืองแร่ต่อไป ซึ่งความร่วมมือทางวิชาการเหมืองแร่ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่าง กฟผ. และสถาบันการศึกษา นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีด้านการทำเหมือง ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในอนาคต

สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจ “สี่สถาบันการศึกษา” เป็นการลงนามต่อเนื่อง ฉบับที่ 3 โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนการจัดการอบรมในรูปแบบค่ายวิชาการเหมืองแร่ ให้กับนิสิต นักศึกษาและบุคลากรทางด้านเหมืองแร่ ทำให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษา และวิจัยทางด้านเหมืองแร่ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมทางด้านเหมืองแร่ แก่สถาบันทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีด้านการทำเหมืองเพื่อรองรับอุตสาหกรรมด้านเหมืองแร่ต่อไป