ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ถือเเป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำในทุกปี โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำาของมนุษย์ที่ได้ทำการเผาป่าเพื่อหาของป่า รวมทั้งการเผาไร่เพื่อกำาจัดวัชพืช จนทำให้เกิด ผงฝุ่นและควันไฟกระจายไปในอากาศ ไม่สามารถลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ ประกอบกับความกดอากาศสูง ทำให้หมอกควันแผ่ปกคลุมทั่วเมือง จนทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น หลายเป็นปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบต่อต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทางรัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา และได้มีการยกระดับปัญหาให้เป็นความสำคัญระดับภูมิภาคของประเทศไทย โดยมอบให้ 10 จังหวัดภาค เหนือเป็นเขตการควบคุมป้องกันปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยในปีนี้ทางจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์หมอกควันอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนมาตรการในการควบคุมมิให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 เกินค่ามาตรฐาน
โดยล่าสุดทางจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยได้กำหนดเป็น 3 ขั้นตอน โดย ขั้นตอนที่ 1 จะเป็นขั้นตอนเชิงป้องกัน ซึ่งจะเป็นการประวสานงานไปยังหน้วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมบุคลากร เครื่องมือ งบประมาณ ทำการชิงเผาและทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่า
จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือช่วงของการรับมือ ซึ่งจะเป็นช่่วงที่ทางจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศเป็นช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิดอย่างเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 20 เมษายน 2561 เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 เกินค่ามาตรฐานซึ่งหากมีการฝ่าฝืน ทางเจ้าหน้าที่ยจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งหลังจากวันที่ 20 เมษายน 2561หากผู้ใดจะทำการเผา จะต้องขออนุญาตจากนายอำเภอก่อนดำเนินการทุกครั้งเพื่อควบคุมการเผาโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
ต่อมาในส่วนของขั้นตอนที่ 3 จะเป็นขั้นตอนในการสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันโดยจะได้มีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้แก่เยาวชน ประชาชน และแสวงหาองค์กรภาคประชาชนนักธุรกิจ มาร่วมกันดำเนินการตามโครงการพระราชดำริฯ ทุกประเภทที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่เหนือเขื่อนอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง เพื่อให้เกิดพื้นป่าที่เป็นประโยชน์อย่างหลากหลาย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยื่นต่อไป